Signs and symptoms of stress
ความเครียดระดับที่ 1
ความเครียดระดับที่ 2
ความเครียดระดับที่ 3
ความเครียดระดับที่ 4
• ความเครียดระดับต่ำ (Mild Stress) เป็นความเครียดขนาดน้อย
ๆ และหายไปในระยะ เวลาอันสั้นเป็นความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
ความเครียดระดับนี้ไม่คุกคามต่อการดำเนินชีวิต บุคคลมีการปรับตัวอย่างอัตโนมัติ
เป็นการปรับตัวด้วยความเคยชินและการปรับตัวต้องการพลังงานเพียงเล็กน้อยเป็น
ภาวะที่ร่างกายผ่อนคลาย ความเครียดระดับนี้สามารถหายไปได้เอง
ความเครียดระดับที่ 2
• ความเครียดระดับปานกลาง (Moderate Stress) เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิต
ประจำวันเนื่องจากมีสิ่งคุกคาม หรือพบเหตุการณ์สำคัญ ๆ ในสังคม
บุคคลจะมีปฏิกิริยาตอบสนองออกมาใน ลักษณะความวิตกกังวล ความกลัว ฯลฯ
ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติทั่ว ๆ ไปไม่รุนแรง จนก่อให้เกิดอันตราย บุคคลจะแสดงปฏิกิริยาการตอบสนองต่างๆ ทางด้านร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ไมเกรน
เหนื่อยง่าย เริ่มพบความผิดปกติในระบบต่างๆ เช่น
รับประทานอาหารได้น้อยลงหรือมากขึ้น ท้องเสีย
ท้องอืด นอนหลับมากขึ้นหรือนอนไม่หลับ ด้านจิตใจและพฤติกรรม ความสนใจจะแคบลง โดยให้ความสนใจเฉพาะเรื่อง
เป็นระดับความเครียดที่ทำให้บุคคลเกิดความกระตือรือร้น
ความเครียดระดับที่ 3
• ความเครียดระดับสูง (High Stress) เป็นความเครียดที่เกิดจากเหตุการณ์รุนแรงหากปรับตัวไม่ได้
จะทําให้เกิดความผิดปกติตามมาทางร่างกาย อารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม เช่น ปวดศีรษะ
ปวดท้อง อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย หงุดหงิด พฤติกรรมการนอนและการรับประทานอาหารเปลี่ยนไป
จนมีผลต่อการดําเนินชีวิต จึงควรหาใครสักคนคอยอยู่เป็นเพื่อนรับฟังปัญหา
และระบายความรู้สึก รวมถึงมีผู้ใหญ่สักคนแนะนําให้คําปรึกษาอย่างใกล้ชิด
ความเครียดระดับที่ 4
• ความเครียดระดับรุนแรง (Severe Stress) เป็นความเครียดระดับสูงและเรื้อรังต่อเนื่องจนทําาให้คนคนนั้นมีความล้มเหลวในการปรับตัว
และก่อให้เกิดความผิดปกติและเกิดโรคต่างๆที่รุนแรงขึ้นมาได้ เช่น อารมณ์แปรปรวน
มีอาการทางจิต มีความบกพร่องในการดําาเนินชีวิตประจําวัน
ซึ่งอาจมีอาการนานเป็นสัปดาห์ เดือน หรือปี ควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.(2561). ระดับของความเครียด.สืบค้นเมื่อ
29 ตุลาคม 2561. จาก
http://www.thaihealth.or.th/Content/41337